RSS

ทฤษฎีดาวถูกคิดค้นขึ้นโดยนายชาร์ลส์ เอช ดาว (Charles H. Dow) หรือบิดาแห่งการวิเคราะห์ทางเทคนิค

ทฤษฎีดาวถูกคิดค้นขึ้นโดยนายชาร์ลส์ เอช ดาว (Charles H. Dow) ผู้ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งการวิเคราะห์ทางเทคนิค เมื่อเกือบ 100 ปีที่แล้ว แต่กฏ และหลักการของดาว ยังคงใช้ได้ตราบจนถึงปัจจุบัน หลักการนี้มิได้พูดถึงเพียงการวิเคราะห์ทางเทคนิค หรือ การเคลื่อนที่ของราคาหุ้น แต่สิ่งนี้ถือเป็นปรัญญาของตลาดหุ้น ที่อธิบายถึงพฤติกรรมของตลาดหุ้นที่ยังคงเหมือนเดิม เกิดขึ้นซ้ำๆเฉกเช่นเดียวกัน กับตลาดหุ้นเมื่อ 100ปีที่แล้ว



ดาว ได้พัฒนา การวิเคราะห์ตลาดหุ้น จนเกิดเป็นทฤษฏีในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จนกระทั่งเขาได้เสียชีวิตในปี 1902  ซึ่งเขาเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าของ และเป็นบรรณาธิการของ หนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal แม้ว่าเขาจะไม่ได้เขียนหนังสือของตัวเองก็ตาม แต่เขาก็ได้เป็นบรรณาธิการให้กับหนังสือ หลายเล่มในการ ให้ความเห็นด้านการเก็งกำไร และ กฎ industrial average
หลังจากที่ดาว เสียชีวิตแล้ว ก็มี หนังสือที่อธิบายเกี่ยวกับทฎษฎีของเขามากมายเช่น The ABC of Stock Speculation, The Stock Market Barometer เป็นต้น

ทฤษฎีดาว (Dow Theory)
ตลาดขาขึ้น – ขั้นที่ 1 – สะสม
ฮา มิลตัน (Hamilton) กล่าวไว้ว่าในช่วงแรกของตลาดขาขึ้นมักจะไม่แตกต่างจากตลาดในช่วงขาลง เพราะคนส่วนยังมองในแง่ลบและทำให้แรงซื้อยังคงชนะแรงขายในช่วงแรกของขา ขึ้น  ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ไม่มีใครถือหุ้น  ประกอบกับไม่มีข่าวดี ทำให้ราคาประเมินของหลักทรัพย์ถึงจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์  อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาเช่นนี้เป็นช่วงที่ผู้ที่ลงทุนอย่างฉลาดจะเริ่มสะสมหุ้น  และเป็น ช่วงที่ผู้ที่มีความอดทนและใจเย็นพอที่จะเห็นประโยชน์ของการเก็บหุ้นไว้จน กระทั่งราคาดีดกลับ  บางครั้งหุ้นมีราคาถูก แต่กลับไม่มีใครต้องการ  ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่  วอเรน บัฟเฟท ได้กล่าวไว้ในช่วงฤดูร้อนของปี 1974 ว่าตอนนี้ได้เวลาที่จะซื้อหุ้นแล้ว แต่ก็ไม่มีใครเชื่อ ในระยะแรกของตลาดขาขึ้น  ราคาหุ้นจะเริ่มเข้าใกล้จุดต่ำสุด แล้วค่อยๆยกตัวขึ้น เมื่อตลาดเริ่มกลับตัวขึ้น คนส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อว่าตลาดกำลังจะปรับตัวขึ้น และเป็นการเริ่มต้นของขาขึ้น  หลังจากตลาดยกตัวสูงขึ้นและดิ่งกลับลงมา  จะ มีแรงขายออกมา เป็นการบอกว่าขาลงยังไม่สิ้นสุด  ในช่วงนี้เองที่จะต้องวิเคราะห์อย่างระมัด ระวังว่าการปรับตัวลงมีนัยยะสำคัญหรือไม่ หากไม่มีนัยยะสำคัญ จุดต่ำสุดของการลงจะยกสูงขึ้นจากจุดต่ำสุดเดิม  สิ่งที่ตามมาคือตลาดจะเริ่ม สะสมตัวและมีการแกว่งตัวน้อย หลังจากนั้นจึงเริ่มปรับตัวสูงขึ้น  และหากราคาเคลื่อนขึ้นเหนือจุดสูงสุด เดิม จะเป็นการยืนยันถึงการเริ่มต้นของแนวโน้มขาขึ้น

ตลาดขาขึ้น – ขั้นที่ 2 – การเคลื่อนไหวครั้งใหญ่
ขั้น ที่ 2 มักจะเป็นช่วงที่มีระยะเวลานานที่สุด และมีการปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุด  ระยะเวลานี้จะเป็นช่วงที่กิจการต่างๆ เริ่มฟื้นตัว มูลค่าหลักทรัพย์จะเพิ่มขึ้น  รายได้และกำไรเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น  ช่วงนี้จึงถือได้ว่าเป็นช่วงที่สามารถทำกำไร ได้ง่ายที่สุด เพราะมีผู้เข้ามาลงทุนตามแนวโน้มของตลาดมากขึ้น

ตลาดขาขึ้น – ขั้นที่ 3 – เกินมูลค่า
ระยะ ที่ 3 ของตลาดขาขึ้น เป็นระยะที่มีการเก็งกำไรมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะตลาดเฟ้อ (ดาวได้คิดทฤษฎีนี้ขึ้นเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน แต่เหตุการณ์เช่นนี้ยังคงเป็นเรื่องที่คุ้นเคยในปัจจุบัน) ในขั้นสุดท้ายนี้ ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในตลาด  ค่าที่ประเมิน สูงเกินไป  และความมั่นใจมีมากเกินปกติ  จึงเป็นช่วงที่เรียกได้ว่าเป็นส่วน กลับของขั้นที่ 1

ตลาดขาลง – ขั้นที่ 1 – กระจาย
เมื่อ การสะสมเป็นขั้นที่ 1 ของขาขึ้น การกระจายก็คือขั้นแรกของขาลง  นักลงทุนที่ฉลาด จะไหวตัวทันว่าธุรกิจต่างๆ ในปัจจุบันไม่ได้ดีอย่างที่เคยคิด และเริ่มขายหุ้นออก   แต่คนอื่นๆยังคงอยู่ในตลาดและยังพอในที่จะซื้อในราคาที่สูง  จึงเป็นการยาก ที่จะบอกว่าตลาดกำลังเข้าสู่ขาลง  อย่างไรก็ตาม จุดนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการกลับตัว เมื่อตลาดปรับตัวลง คนส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อว่าตลาดเข้าสู่ขาลง และยังมองตลาดในแง่ดี  ดังนั้นเมื่อตลาดปรับตัวลงพอประมาณ จึงมีแรงซื้อกลับเข้ามาเล็กน้อย  ฮามิลตันกล่าวว่าการกลับตัวขึ้นในช่วงขาลง นี้จะค่อนข้างรวดเร็วและรุนแรง  ดังเช่นที่ฮามิลตันได้วิเคราะห์ไว้เกี่ยว กับการกลับตัวที่ไม่มีนัยยะสำคัญนี้ ว่าส่วนที่ขาดทุนไปจะได้กลับคืนมาในระยะเวลาเพียงไม่กี่วันหรือสัปดาห์  การ เคลื่อนไหวที่รวดเร็วเช่นนี้เป็นการตอกย้ำว่าขาขึ้นของตลาดยังไม่สิ้น สุด  อย่างไรก็ตาม จะสูงสุดใหม่จะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าจุดสูงสุดเดิม และหลังจากนั้น หากราคาทะลุผ่านจุดต่ำสุดเดิม นั่นจะเป็นการยืนยันถึงขั้นที่ 2 ของตลาดขาลง

ตลาดขาลง – ขั้นที่ 2 – การเคลื่อนไหวครั้งใหญ่
เช่น เดียวกับตลาดในขาขึ้น ขั้นที่ 2 เป็นขั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงของราคามากที่สุด  ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่แนว โน้มเด่นชัดและกิจการต่างๆเริ่มถดถอย  ประมาณการณ์รายได้และกำไรลดลง หรืออาจถึงขาดทุน   เมื่อผลประกอบการแย่ลง  แรงขายจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ตลาดขาลง – ขั้นที่ 3 – สิ้นหวัง
ณ จุดสูงสุดของตลาดขาขึ้น ความคาดหวังมีมากจนถึงขั้นมากเกินไป  ในตลาดขาลงขั้นสุดท้าย ความคาดหวังทั้งหมดหายไป   มูลค่าที่ประเมิน ต่ำมาก  แต่ยังคงมีแรงขายอย่างต่อเนื่อง เพราะทุกคนในตลาดพยายามที่จะถอนตัวออก  มีข่าวร้ายเกี่ยวกับธุรกิจ  มุมมอง เศรษฐกิจตกต่ำ จึงไม่มีผู้ใดต้องการซื้อ  ตลาดจะยังคงลดต่ำลงจนกระทั่งข่าวร้ายทั้งหมดได้ ถูกซึมซับแล้ว  เมื่อราคาสะท้อนถึงผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่ดีต่างๆแล้ว  วัฐ จักรก็จะเริ่มต้นอีกครั้ง

บทสรุปของทฤษฎีดาว
จุดประสงค์ ของดาวและฮามิลตัน คือ การหาจุดเริ่มต้นของแนวโน้ม และ สามารถจับการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ได้  พวกเขารู้ดีว่าตลาดถูกขับเคลื่อนโดย อารมณ์ของตลาดและการเกิดปฏิกิริยาเกิน (Overreaction) จริงทั้งในด้านบวกและลบ  พวกเขาจึงมุ่งความสนใจไปที่การมองหาแนวโน้มและ เคลื่อนไหวไปตามแนวโน้ม  แนวโน้มจะยังคงอยู่จนกระทั่งสามารถพิสูจน์ได้แน่ ชัดถึงแนวโน้มใหม่ ทฤษฎีดาวช่วยให้นักลงทุนเรียนรู้ข้อเท็จจริง ไม่ใช่ตั้งข้อสมมติฐานและคาดการณ์ล่วงหน้า  การตั้งข้อสมมติฐานเป็นสิ่งที่ อันตรายสำหรับนักลงทุน  เพราะการคาดเดาตลาดเป็นเรื่องยาก  ฮามิลตันเองยอม รับว่าทฤษฎีดาวนี้ไม่ได้สมบูรณ์แบบ  ในขณะที่ทฤษฎีดาวสามารถให้เป็นพื้นฐาน ในการวิเคราะห์  ทฤษฎีนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการพัฒนาแนวทางการ วิเคราะห์ของนักลงทุน การอ่านเกมตลาดเป็นศาสตร์ที่ได้จากประสบการณ์ตรงจากตลาด  ดังนั้นกฎของฮามิ ลตันและดาวจึงมีข้อยกเว้น  พวกเขามีความเชื่อว่าความสำเร็จเกิดจากการศึกษา ที่จริงจังและการวิเคราะห์ที่มีทั้งความสำเร็จและความผิดพลาด  ความสำเร็จ เป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าหลงระเริง  ขณะเดียวกัน ความผิดพลาด ถึงแม้จะเจ็บปวด แต่จะให้บทเรียนที่มีค่า  การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นศิลปะอย่างหนึ่งซึ่ง สามารถพัฒนาได้โดยการฝึกฝน เรียนรู้ทั้งจากความสำเร็จและล้มเหลวด้วยการมองไปข้างหน้า

ศึกษาข้อมูลได้ที่  http://www.thaibestforex.com/forex/(charles-h-dow)/?/